โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะที่ 1 ของรฟท. แบ่งเป็น 3 ภูมิภาค ได้แก่ สายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ(อีสาน) และสายใต้ ได้เลือกขยายในจุดที่เป็นคอขวดการเดินรถ และต้องได้รับการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนเปรียบเหมือนการขยายหลอดเลือด ถ้าไม่สามารถขยายได้เลือดก็จะเดินไม่สะดวก เพื่อทำให้การเดินทางด้วยรถไฟของประชาชนทั้ง 3 ภูมิภาคสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น
สำหรับโครงการทางคู่สายเหนือ ช่วงลพบุรี - ปากน้ำโพ วงเงินก่อสร้าง 2.15 หมื่นล้านบาท
ภาพรวมทั้งโครงการมีความคืบหน้า 44.72% เร็วกว่าแผนงาน 8.20% แบ่งเป็นสัญญาที่ 1 (บ้านกลับ – โคกกระเทียม) ระยะทาง 29 กม. เริ่มต้นบริเวณสถานีบ้านกลับ จ.สระบุรี เป็นการก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายใหม่เลี่ยงเมืองลพบุรี โดยใช้พื้นที่ทางหลวงหมายเลข 366 และพื้นที่เวนคืนในการก่อสร้าง สิ้นสุดบริเวณสถานีโคกกระเทียม จ.ลพบุรี
ประกอบด้วย ทางรถไฟยกระดับ 23 กม. และทางรถไฟระดับพื้นดิน 6 กม. มีการปรับปรุงสถานีรถไฟเดิม 1 สถานี และก่อสร้างสถานียกระดับใหม่ 1 สถานี ค่าก่อสร้าง 10,050 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 48 เดือน เริ่มก่อสร้างวันที่ 15 มิ.ย. 61
มีกิจการร่วมค้ายูเอ็น-เอสเอช และ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้าง มีความคืบหน้า 30.09% เร็วกว่าแผน 11.76%
สัญญาที่ 2 (ท่าแค-ปากน้ำโพ) ระยะทาง 116 กม. เริ่มต้นที่บริเวณสถานีท่าแค จ.ลพบุรี ก่อสร้างตามแนวเส้นทางรถไฟเดิม สิ้นสุดบริเวณสถานีปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ มีงานก่อสร้างสถานีใหม่ 8 สถานี งานปรับปรุงสถานีเดิม 10 สถานี งานก่อสร้างย่านเก็บกองและขนถ่ายตู้สินค้า(CY) 1 แห่ง และงานก่อสร้างอาคารศูนย์ควบคุมการเดินรถ(CTC) 1 แห่ง ค่าก่อสร้าง 8,649 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 36 เดือน เริ่มก่อสร้างวันที่ 1 ก.พ. 61
มีบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้รับจ้างดำเนินงาน มีความคืบหน้า 59.35% ล่าช้ากว่าแผน 4.65%
ขณะที่การจัดหาและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม วงเงินก่อสร้าง 2.77 พันล้านบาท มีกิจการร่วมค้า บีที - ยูเอ็น ประกอบด้วย บริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกแนล (ประเทศไทย) และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการ อยู่ระหว่างสำรวจพื้นที่ต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมในการติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ และโทรคมนาคม
การก่อสร้างในสัญญาที่ 1 ช่วงบ้านกลับ จ.สระบุรี – โคกกระเทียม จ.ลพบุรี ระยะทาง 29 กม. ถือเป็นจุดไฮไลท์ของโครงการรถไฟทางคู่สายเหนือ เนื่องจากก่อสร้างทางรถไฟยกระดับมีความยาว 23 กม. ซึ่งขณะนี้ได้เริ่มก่อสร้างฐานราก และขึ้นเสาทางยกระดับแล้ว
หากก่อสร้างแล้วเสร็จจะเป็นการทำลายสถิติทางรถไฟยกระดับยาวที่สุดในประเทศไทย
เวลานี้เจ้าของสถิติทางรถไฟยกระดับสูงที่สุด และยาวที่สุดในไทย อยู่ที่บริเวณมาบกะเบา-
กลางดง อ.
มวกเหล็ก จ.
สระบุรี ระยะทางยาว 5
กม.
จุดสูงที่สุดอยู่ที่ประมาณ 50
เมตร ซึ่งอยู่ในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-
ชุมทางถนนจิระ โดยการก่อสร้างคืบหน้าเกือบ 90%
แล้ว คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือน ส.
ค.
นี้
กับคำถามที่ว่า...ทำไม?? ต้องก่อสร้างเป็นทางยกระดับจนทุบสถิติยาวที่สุด...เพื่อเลี่ยงแนวเส้นทางไม่ผ่านพระปรางค์สามยอด ตาม มติคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม( EIA) จึงต้องสร้างทางรถไฟเลี่ยงเมืองและต้องไม่เวนคืนหรือลดผลกระทบด้านการเวนคืนให้น้อยที่สุด จึงใช้เขตทางหลวง สาย 366 แต่เขตทางไม่เพียงพอจึงต้องสร้างแบบลอยฟ้ายาว 22-23 กม. ด้วยความสูงจากระดับพื้นดินถึงสันรางรถไฟประมาณ 10-20 เมตร และจะเริ่มลดระดับลงก่อนเข้าสู่บริเวณสถานีโคกกระเทียม จ.ลพบุรี
รฟท. วางเป้าหมายการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับจะแล้วเสร็จประมาณปี 65 ส่วนตลอดทั้งเส้นสายเหนือ ช่วงลพบุรี – ปากน้ำโพ จะก่อสร้างแล้วเสร็จ และสามารถเปิดให้บริการได้ประมาณปี 66
อีกความพิเศษของรถไฟทางคู่ ทางเลี่ยงเมืองบนถนนพื้นราบเพื่อความสะดวกรวดเร็วและลดผลกระทบฉันใด ทางคู่รถไฟเลี่ยงเมืองก็ทำได้ฉันนั้น
.................................
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย "เทียนหยด"