นอกจากเข็มไมล์แล้ว ยังมีสัญลักษณ์อีกมากมายที่โชว์อยู่บนแผงหน้าปัดหน้ารถ เคยสงสัยหรือไม่ว่าแต่ละอันมันบอกอะไร หรือหมายถึงอะไรกันแน่? อันที่จริงแล้ว
"สัญญาณไฟเตือนหน้าปัดรถยนต์" ถือเป็นสิ่งที่ช่วยตรวจสอบความผิดปกติของรถยนต์ และแจ้งเตือนให้เราทราบ ซึ่งจะดีขนาดไหนหากเรารู้ถึงความหมายของสัญลักษณ์ต่างๆ
"รู้ก่อนเหยียบ" ขอมาทำความรู้จักสัญลักษณ์บนแผงหน้าปัดที่ช่วยเตือนว่ารถของคุณน่าจะมีปัญหากันดีกว่าครับ
สัญญาณไฟเตือนสีแดง
ถ้าสัญญาณเตือนสีแดงแสดงขึ้นมาตอนที่เราสตาร์ตเครื่องแล้วดับไปเป็นเรื่องธรรมดา แต่ถ้าเมื่อไหร่สัญญาณนี้ยังค้างอยู่ กรุณาเอารถไปเข้าซ่อมทันที เพราะถ้ายังฝืนใช้งานอยู่จะเกิดอันตรายขึ้นได้
-สัญญาณเตือนคาดเข็มขัดนิรภัย เน้นเรื่องของความปลอดภัยในการเดินทางเมื่อเราเริ่มสตาร์ตเครื่องยนต์ ในรถบางรุ่นมีสัญญาณเสียงดังขึ้นมาด้วยจนกว่าจะมีการคาดเข็มขัดแล้ว
-สัญญาณไฟเตือนถุงลมนิรภัย จะแสดงขึ้นมาทุกครั้งที่เราสตาร์ตเครื่องเพื่อความปลอดภัยเมื่อเกิดการชนแล้วถุงลมฯ ทำงานเพื่อป้องกันแรงกระแทก
-สัญญาณเตือนแบตเตอรี่ เพื่อดูว่าประจุไฟฟ้าในแบตเตอรี่เพียงพอต่อการใช้งานหรือไม่ ถ้าสัญญาณเตือนสีแดงรูปนี้ขึ้นมาและรถของเราสตาร์ตไม่ติด ให้ตรวจสอบว่าแบตเตอรี่ยังทำงานดีอยู่หรือไม่
-สัญญาณเตือนไฟเบรกหรือเบรกมือ จะแสดงขึ้นเมื่อเราใช้เบรกมืออยู่หรือบอกว่ารถของเราเบรกมีปัญหา ให้ปลดเบรกมือออกก่อนเดินทางต่อหรือถ้าปลดแล้วไฟไม่หายไป แวะเอารถเข้าซ่อมโดยด่วน ระบบเบรกหรือน้ำมันเบรกของรถคุณน่าจะมีปัญหา
-สัญญาณเตือนไฟเบรกจอดรถ แสดงว่ารถคุณกำลังเจอปัญหาเรื่องระบบเบรกอยู่ให้ตรวจสอบระดับน้ำมันเบรกและผ้าเบรกให้รอบคอบ ถ้าปล่อยไปนานๆ อาจเกิดเหตุการณ์เบรกแตกได้
-สัญญาณเตือนไฟประตูรถเปิด แสดงว่ารถของคุณปิดประตูไม่สนิทให้ตรวจเช็กให้ครบทุกประตูรวมถึงฝาถังน้ำมันด้วยในรถยนต์บางรุ่น
-สัญญาณไฟเตือนกระโปรงท้ายเปิด แสดงว่ากระโปรงท้ายรถของคุณปิดไม่สนิทหรือเปิดกระโปรงรถทิ้งไว้ ให้ตรวจสอบกระโปรงรถ
-สัญญาณไฟเตือนระดับน้ำมันเครื่อง เป็นไปได้อย่างสูงยิ่งว่าระดับน้ำมันเครื่องในรถมีปัญหาอาจจะร้ายแรงถึงขึ้นหมดได้ ปล่อยไว้นานเครื่องพัง
-สัญญาณไฟเตือนอุณหภูมิ แสดงว่าอุณหภูมิของเครื่องยนต์กำลังพุ่งสูง ควรจอดพักรถให้เครื่องยนต์ก่อนเพื่อป้องกันอาการเครื่องพัง
-สัญญาณไฟเตือนระบบโจรกรรม ให้ตรวจสอบระบบป้องกันที่ว่านี้ว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่ เพื่อความปลอดภัยจากรถหาย
สัญญาณเตือนไฟสีเหลือง
-สัญญาณเตือนสีเหลือง จะเป็นสัญญาณเตือนสมชื่อ เพราะรถเรายังสามารถขับได้อยู่เพียงแค่เตรียมจัดตารางเอารถเข้าตรวจสอบเพื่อความมั่นใจในความปลอดภัยของรถ
-สัญญาณไฟเตือนไฟตัดหมอกด้านหลัง ถ้ามีสัญญาณเตือนขึ้นแสดงว่าเรากำลังใช้งานไฟตัดหมอกด้านหลังอยู่
-สัญญาณเตือนน้ำมัน แสดงว่าน้ำมันกำลังจะหมดจะเหลืออยู่ที่ 10 ลิตรสุดท้ายและเรายังสามารถขับต่อไปได้อีกสักกระยะตามขนาดของรถยนต์ ให้รีบหาปั๊มเติม อย่าปล่อยให้ขึ้นบ่อยๆ อาจทำให้ระบบปั๊มของถังน้ำมันมีปัญหาได้ในอนาคต
-สัญญาณเตือนระบบควบคุมเครื่องยนต์ แสดงว่าเครื่องยนต์รถรถของเราน่าจะเกิดปัญหาเช่นที่ระบบไฟชาร์จ หรือไดชาร์จ ควรที่จะต้องนำรถเข้าตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ เพราะถ้าปล่อยไปนานๆ อาจจะส่งผลให้ส่วนอื่นเสียได้
-สัญญาณเตือนระดับน้ำมันเครื่องต่ำ สมควรต้องไปเข้ารับการดูแลจากช่างเพื่อเติมน้ำมันเครื่องก่อนที่เครื่องยนต์รถคุณจะเกิดไหม้ได้
-สัญญาณเตือนตรวจเช็กน้ำมันเครื่อง ด้วยน้ำมันเครื่องนั้นมีอายุการใช้งานนับจากวันที่ผลิต และเมื่อครบกำหนดต้องมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องเพื่อป้องกันเครื่องพัง หรือในรถบางคันก้านวัดน้ำมันเครื่องอาจจะมีปัญหา หรือเกิดอาการน้ำมันเครื่องขาดขึ้นได้
-สัญญาณเตือนการปิดระบบทรงตัวของรถ ปกติแล้วเป็นระบบอัตโนมัติและในรุ่น TOP สามารถเปิด-ปิดการทำงานของระบบได้ด้วยเมื่อเรามีการปรับแต่งล้อใหม่หรือการตั้งศูนย์ใหม่เราก็เลือก OFF ก่อนได้
-สัญญาณเตือนระบบทรงตัวของรถ คือรถของเรากำลังใช้งานระบบทรงอาจจะด้วยสภาพถนนและการขับขี่ หรือเมื่อมีการแต่งล้อและตั้งศูนย์ใหม่มักไฟจะโชว์ขึ้นมา เราก็ควรตั้งค่าใหม่ให้เรียบร้อยเมื่อรถกลับมาทรงตัวเป็นปกติแล้วไฟจะดับไปเอง
-สัญญาณเตือนระบบ ABS คือระบบป้องกันการล็อกล้อของเบรก ถ้าสัญญาณไฟแสดงขึ้นมาแสดงว่า ABS ของรถเราน่าจะมีปัญหา ไปตรวจสอบระบบเบรกโดยด่วน
-สัญญาณเตือนเบรกหรือเบรกมือ แสดงว่าเรากำลังใช้เบรกมืออยู่หรือถ้าตรวจสอบแล้วว่าเบรกมือไม่ได้ใช้งาน ควรไปตรวจสอบระบบเบรกโดยด่วนเพื่อความปลอดภัย
-สัญญาณเตือนระบบตรวจสอบพวงมาลัยเพาเวอร์ หรือ EPS ปกติแล้วไฟจะแสดงขึ้นมาก่อนสตาร์ตเครื่องและดับไปเมื่อเราสตาร์ตเครื่องติดแล้ว แต่ถ้าสตาร์ตแล้วไฟยังขึ้นอยู่ให้ตรวจสอบระบบไฟที่ควบคุมการทำงานของพวงมาลัย
-สัญญาณเตือนระบบเบรกจอดรถ ปกติแล้วรถเกียร์ออโต้ถ้าจอดนานเราจะเข้าเกียร์ที่ P ถ้าไฟแสดงขึ้นมาให้เราเอารถเข้าศูนย์เพื่อตรวจสอบระบบเบรกตอนจอดรถโดยด่วน
-สัญญาณเตือนเหยียบเบรก มักจะแสดงขึ้นในรถรุ่นใหม่ที่เราต้องเหยียบเบรกก่อนถึงจะสตาร์ตเครื่องยนต์ได้ รถรุ่นใหม่มันฉลาดขึ้นเรื่อยๆ
-สัญญาณเตือนเอารถเข้าตรวจสอบ เพื่อให้ควรจะเอารถเข้าไปตรวจสอบแบบเต็มรูปแบบได้แล้ว
-สัญญาณใช้งานระบบช่วยจอดรถ ในรถยนต์รุ่นใหม่จะมีระบบอัจฉริยะที่ช่วยให้เราจอดรถได้
-สัญญาณใช้งานระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ เมื่อเราต้องการเปลี่ยนใช้งานการขับเคลื่อนเป็นแบบ 4 ล้อสัญญาณนี้จะแสดงขึ้นมา
สัญญาณไฟเตือน สีเขียว/น้ำเงิน
-
สัญญาณใช้งานระบบไฟสปอตไลต์/ไฟตัดหมอก โดยปกติแล้วเมื่อเราต้องขับขี่ในเวลากลางคืนหรือช่วงเวลาที่แสงไม่พอในการมองเห็นเราต้องมีการเปิดไฟรถยนต์ ก็มักจะเป็นไฟสปอตไลต์หรือไฟหน้ารถ ส่วนในบางรุ่นอาจจะแยกสวิตช์สำหรับไฟตัดหมอกด้านหน้าด้วย
-สัญญาณชาร์จพลังงานเมื่อขับรถลงเนิน (ในรถยนต์ไฮบริด) โดยปกติแล้วรถแบบผสมระหว่างการใช้น้ำมันและไฟฟ้าที่เราเรียกว่าไฮบริดนั้น เวลาที่เราขับลงจากที่สูงรถจะเก็บพลังงานที่เกิดจากเคลื่อนที่ลงสู่ที่ต่ำไว้ในแบตเตอรี่โดยที่เราไม่ต้องเหยียบคันเร่งซึ่งก็คือการชาร์จไฟเข้าเก็บไว้ที่แบตเตอรี่นั่นเอง
-สัญญาณใช้งานระบบไฟหรี่ ในการขับรถบางครั้งที่เราต้องการแค่มองเห็นระบบการทำงานในห้องโดยสารเราก็แค่เปิดใช้ไฟหรี่
-สัญญาณใช้งานระบบไฟสูง เมื่อเราต้องขับรถทางไกลในเวลากลางคืนและต้องการแสงสว่างแบบมองระยะไกล...
.....................................
คอลัมน์ :
รู้ก่อนเหยียบ
โดย
"ช่างเอก"
ติดต่อสอบถามข้อมูลโดยตรงที่ changaek_106@hotmail.com