วันที่ 1 ธ.ค. จะเป็นวันที่กลุ่มนักเรียนเลว
“ลองของ” โดยการสวมชุดไปรเวทแทนชุดนักเรี
ยนวันแรก ซึ่งขณะที่เขียนนี้ก็ยังไม่รู้
ว่าจะมีปัญหาอะไรหรือไม่ กระแสจะเป็นไปในทางที่นักเรี
ยนทั่วประเทศลุกขึ้นมา
“ปลดแอกชุดนักเรียน” ตามๆ กันหรือว่าจะใส่เพื่อแสดงสัญลั
กษณ์อยู่ช่วงเวลาหนึ่งก็ต้องดู
กันต่อไป เพราะทุกวันนี้ก็เห็นว่า เด็กรุ่นใหม่ๆ ตื่นตัวเรื่องสิทธิกันเหลือเกิน เรื่องชุดนักเรียนมันก็เป็
นประเด็นหนึ่ง
เคยคุยกับเด็กบางคนเขาก็บอกว่า เรื่องชุดนักเรียนเป็นเรื่องหนึ่
งที่
“เป็นการบังคับทางวินัย” หรือการกดทับรูปแบบหนึ่งที่ผู้
ใหญ่ใช้กฎมาแสดงอำนาจเหนือเด็ก โดยที่จริงๆ แล้ว ความเป็นระเบียบเรียบร้อยของชุ
ดนักเรียนนี่ไม่ได้มีความจำเป็
นต่อการเรียนหรือช่วยให้เรียนดี
ขึ้นเลย แถมยังเป็นภาระผู้ปกครองยากจนที่
ต้องเปลี่ยนชุดนักเรียนให้ลูกที่
โตขึ้นทุกปี เรียกว่าเอามิติทางเศรษฐกิจครั
วเรือนเข้ามาโยงด้วย
มันก็เป็นเรื่องหนึ่งที่มองต่
างมุมกันมาสองสามปีแล้วระหว่
างกลุ่มอนุรักษ์นิยมกับกลุ่
มเสรีนิยม เสรีนิยมเขาพยายามฉีกกฎเกณฑ์
อะไรที่เขาคิดว่าไม่จำเป็น แล้วเอาเวลาไปพัฒนาศักยภาพให้ชี
วิตในเรื่องอื่นๆ ดีกว่ามานั่งจับผิดกันอยู่ว่า เสื้อ กะโปรงถูกระเบียบหรือเปล่า รองเท้าถูกระเบียบหรือเปล่า ผมยาวถูกระเบียบหรือเปล่า ..มันพูดกันมาสองสามปีแล้
วและเคยมีข่าวกรุงเทพคริสเตี
ยนลองนำร่องดูให้เด็กแต่งไปรเวท แต่ไม่ได้ตามต่อไม่รู้ตอนนี้เป็
นอย่างไรบ้าง
แต่พอมี
“ม็อบปลดแอก” ขึ้นมา เรื่องชุดนักเรียนกลายเป็นแอกอี
กอันนึงที่เขาบอกว่าต้องปลด เหตุผลก็มีดังที่กล่าวไป ทางขั้วอนุรักษ์นิยมเขาก็มีเหตุ
ผลของเขา แต่เห็นการสื่อสารของขั้วอนุรั
กษ์นิยมเกี่ยวกับวินัยของเด็กนั
กเรียนบางทีก็ได้แต่เวียนหัว เพราะเหมือนชินกับการออกคำสั่
งเลยลืมเหตุผล อย่างที่มีไปออกรายการทีวีแล้
วเกิดมีมล้อเลียนไปทั่วอินเทอร์
เนตเรื่อง “ผมยาวบังเพื่อน” ซึ่งความจริงเด็กไว้ผมยาวก็รวบ ไม่ใช่ตีกระบังโป่งเป็นคุ
ณนายไปเรียนเสียหน่อย
ก็ต้องถอยมาฟังขั้วอนุรักษ์นิ
ยมที่เขาใช้เหตุผลหรือใช้การโน้
มน้าวใจที่น่าฟังบ้าง เขาก็ว่ามันเป็นระเบียบเรียบร้
อย รู้ว่าเป็นเด็กนักเรียน ถ้าเกิดหนีเรียนไปทำอะไรสารวั
ตรนักเรียนจะได้ตามตัวถูก และการใช้เครื่องแบบเช่นเดียวกั
นทำให้แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำที่
เด็กจะได้ไม่ต้องมีใครแต่งตั
วแพงไปเรียน เอาของแพงๆ ไปใช้ให้อันธพาลหมั่นไส้ดักปล้
นเอา แต่ถ้าจะให้ใช้ชุดนักเรียน รัฐสวัสดิการในการช่วยเหลือค่
าชุดต้องมีปีต่อปี
ขั้วอนุรักษ์นิยมบางคนเขาก็ว่
าถึงจะพยายามเป็นขบถเรื่องชุดนั
กเรียน แต่พอออกไปทำงานมันก็มียูนิฟอร์
มของแต่ละองค์กรอยู่แล้ว ที่จะฝ่าฝืนไม่ใส่ก็ไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น หากคุณไปเป็นสจวร์ต แอร์โฮสเตส ลองให้แต่งไพรเวทดูเห็นทีผู้
โดยสารจะเรียกกันไม่ถู
กเวลาขอความช่วยเหลือ หรือการแต่งเครื่องแบบในพวกข้
าราชการต่างๆ มันก็มีเข็มมีเหรี
ยญอะไรบอกยศถาบรรดาศักดิ์ที่
จำเป็นต้องให้รู้ระดับกัน แล้วแต่ละคนก็ยินดีที่จะแต่
งตามนั้น
ถ้าพูดในเชิงเร้าอารมณ์ (romanticize) เกี่ยวกับเรื่องชุดนักเรียนหน่
อย ก็ต้องบอกว่า มันเป็นความอ่อนหวานของวัยเยาว์
ที่ช่วงหนึ่งจะได้แต่งตัวอย่
างที่สังคมมองว่า
“นี่คือผู้เยาว์” และดูมีความบริสุทธิ์สดใส แต่งไปรเวทเด็กบางคนก็หัวสู
งจะแต่งเอาหล่อเอาสวยเกินวัย หรือทำผมแบบเอาแต่สนใจในรูปลั
กษณ์ตัวเองจนดูไม่น่ารักสมวั
ยเท่าไร อันนี้สายชอบเครื่องแบบนักเรี
ยนเพราะมันดูเหมาะกั
บเยาวชนเขาบอกมา
มันก็เถียงกันไม่จบล่ะ โรงเรียนไหนเคร่งวินัยหน่อยอย่
างพวกโรงเรียนคริสต์ คอนแวนต์ อะไรต่างๆ ก็คงจะไม่ต้องการให้เด็กแต่
งไปรเวท จึงน่าจะเป็นไปอย่างที่
เคยเสนอไปแล้วว่า แต่ละโรงเรียนน่าจะมีฉันทามติร่
วม ครูกับตัวแทนนักเรียน อาจเป็นพวกกรรมการนักเรียนก็ได้ ต้องพูดคุยกันหาจุดที่ลงตัว เป็นกฎที่ยอมรับได้ของทั้งสองฝ่
าย และกระทรวงศึกษาธิการก็ฟังเสี
ยงเด็กด้วยไม่ใช่คิดแต่วิธี
สอบเข้ามหาวิทยาลัยให้ยุ่งยากขึ้
นแต่ละปี
นี่โดยส่วนตัวแล้ว คิดว่า ถ้าลำบากกันมาก สองฝั่งมีเหตุผลเดียวกันคือมั
นเปลือง (ใช้ชุดนักเรียนก็ต้องเปลี่ยนทุ
กปี มีชุดพละ ชุดลูกเสือเนตรนารีอีก ไม่ใช้ชุดนักเรียนก็ต้องแต่
งมาไม่ให้อายเพื่อน) ก็ยกเลิกชุดนักเรียนไปเลย แล้วใช้ชุดมาตรฐานเป็น
“ชุดพละ” แบบกลาง คือเสื้อเชิร์ตกับกางเกงวอร์
มขายาวไปทุกวัน รัฐอาจช่วยสนับสนุนสวัสดิการเรื่
องรองเท้าให้หน่อยเช่นมีคู
ปองลดราคารองเท้า เพราะส่วนที่แพงส่วนหนึ่งของชุ
ดคือรองเท้า
แล้วจะแยกโรงเรียนก็ให้มันต่
างกันแค่ใช้เข็มกลัดโรงเรียนไม่
เหมือนกัน แบบไม่สังเกตก็ดูไม่รู้ว่านี่
โรงเรียนไฮโซ นี่โรงเรียนไม่ดัง ชุดพละออกจะมีความคล่องตัว ใช้ในโอกาสอื่นๆ ได้แค่เอาเข็มออก เผลอๆ เด็กๆ อาจสวมชุดไปรับงานพิเศษหารายได้
ระหว่างเรียนได้ด้วย เห็นเราชอบบ่นกันว่าเด็กไทยไม่
ค่อยหารายได้พิเศษช่วงเรียน มีแต่ขอเงินพ่อแม่ ใช้ชุดพละก็อาจเป็นโอกาสที่ดีก็
ได้ เช่นไปรับจ้างเสิร์ฟอาหารช่
วงเลิกเรียน หาเงินเองยิ่งรู้ค่าของเงิน
ที่พูดมาคือเรื่องวินัยที่เขาว่
า
“กดทับเด็ก” ที่มันเห็นจากภายนอก มันไม่ใช่เรื่องไม่ดีหรอกที่เด็
กๆ ยุคใหม่ๆ จะลุกขึ้นมาตั้งคำถามเพราะมั
นสอนให้เด็กคิด อ่านหนังสือเพื่อหาข้อมูลมาถก ปะทะสังสรรค์ทางความคิดกับผู้
ใหญ่ได้ พยายามกดให้อยู่ในวินัยที่สร้
างขึ้นมามาก ๆ บางทีมันก็ทำให้เด็กคิดไม่เป็
นเอาซะอย่างนั้น ดังนั้น ความเป็นผู้ใหญ่ที่ดีคืออย่ายึ
ดแนวคิดเดิมๆ ตะพึดตะพือ แต่เปิดใจฟัง เด็กเองก็ต้องเปิดใจฟัง เพราะสำคัญคือการเกิดฉันทามติร่
วมกัน
วันนี้คนรุ่นใหม่เริ่มพูดถึ
งการรื้อถอนชุดความเชื่อหรือวิ
นัยเดิมๆ ที่กดทับแล้ว และอีกประเด็นหนึ่งที่พูดถึงกั
นมากในม็อบคนรุ่นใหม่ก็คื
อการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ ซึ่งประเทศไทยนี่เวลามี
รายงานระดับโลกมาก็ได้อายทุกปี
ว่าความเหลื่อมล้ำสูงมาก มีกลุ่มทุนผูกขาดอยู่ไม่กี่
ตระกูล จนมีนักเศรษฐศาสตร์วิเคราะห์ว่
าการลงทุนในประเทศไทยนั้นไม่คุ้
มสำหรับต่างชาติและคนไทยเท่
าไรเพราะความที่กลุ่มทุนผู
กขาดอยู่ไม่กี่เจ้านี่แหละ แข่งขันยาก
เราจะแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำอย่
างไร? วันก่อนมีเสวนาเรื่อง
“ความเป็นไปได้ในการจัดสรรงบประมาณประเทศเพื่อรัฐสวัสดิการ” ที่พูดถึงการจัดรัฐสวัสดิการ ให้ทุกคนอยู่ได้อย่างเท่าเที
ยมกัน ที่น่าสนใจก็เช่นที่นายเดชรัตน์ สุขกำเนิด นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า ข้อมูลจากธนาคารโลกพบว่
าประเทศไทยจ่ายสวัสดิการคิดเป็น
3.7% ของจีดีพี ขณะที่เวียดนามจ่ายอยู่ที่ 6% ดั
งนั้นประเทศไทยไม่ได้จ่ายมากกว่
า แต่ที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะอยู่ที่
กลุ่มข้าราชการ
ดังนั้นข้อเสนอคือปรับเปลี่
ยนการจัดสรรงบอุดหนุนให้กั
บประชนทั่วไป กับข้าราชการ ปี 2565 ในอัตราส่วนที่ข้
าราชการได้เท่าไร ประชาชนได้เท่านั้น ดังนั้น จึงจะต้องติดตาม ร่าง พ.ร.บ.บำนาญแห่งชาติ
ของภาคประชาชน อย่างใกล้ชิด ส่วนนี้อาจต้องมีการหาเงินเข้
าระบบเพื่อเป็นบำนาญสำหรับที่
ไทยกำลังจะเข้าเป็นสังคมผู้สู
งอายุ โดยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เสนอให้ใช้แหล่งที่มาเช่น สลาก ลดงบประมาณกองทัพ แหล่งภาษีใหม่
ส่วนที่น่าสนใจคือที่
นายจอน อึ้งภากรณ์ ผอ.ไอลอว์ เสนอ เกี่ยวกับการตั้ง ส.ส.ร. ถ้ายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ก็เอาเรื่องรัฐสวัสดิการให้เกิ
ดความเท่าเทียมกัน ที่สำคัญคือแก้ปัญหาการผูกขาดทุ
น ป้องกันไม่ให้มีผู้ผลิตเจ้าใหญ่
รายเดียว การถือครองที่ดินให้อยู่ระบบที่
ไม่เกินความเหมาะสม ทั้งนี้โดยโดยอาศั
ยมาตรการทางภาษี และการปฏิรูปการถือครองที่ดิน โดยต้องสู้ในรัฐธรรมนูญใหม่ ให้มันเป็นจริงให้ได้ หน้าที่ของรัฐ อันดับแรกประชาชนต้องอยู่ดีกิ
นดี
เรื่องแก้ไขกฎระเบียบที่กดทับกั
บเรื่องความเหลื่อมล้ำมันเยอะ พูดกันแป๊บๆ ไม่จบ วันนี้ขอยกตัวอย่างเท่านี้ก่อน.
..........................................
คอลัมน์ : ที่เห็นและเป็นอยู่
โดย "บุหงาตันหยง"